วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษา 3 เรื่อง

title 1
สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาเชียงราย เขต 1 จังหวัดเชียงราย

Description
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและแนวทางการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและ
การสื่อสารในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 1 จังหวัดเชียงราย
ในด้านการบริหารจัดการด้านเครื่องมือเครื่องใช้เทคโนโลยี ด้านการจัดการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่าง
โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายได้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 448 คน นักเรียน จำนวน 381 คน
รวมทั้งสิ้น 829 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวม เป็นแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น 0.956 การวิเคราะห์ข้อมูล
โดยการใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D.) ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
การบริหารจัดการพบว่า มีการดำเนินการอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ผู้บริหารส่งเสริมบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถ
เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้บริหารแต่งตั้งคัดเลือกบุคลากรที่สามารถปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยี
และการสื่อสารในสถานศึกษาสถานศึกษากำหนดวิสัยทัศน์เพื่อ ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
และการสื่อสาร สถานศึกษามีฐานข้อมูลครุภัณฑ์สิ่งก่อสร้าง B-Obec M-Obec ที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน
ส่วนสภาพที่มีการดำเนินการอยู่ในระดับน้อย ได้แก่ สถานศึกษามีบุคลากรที่มีวุฒิการศึกษา สาขาด้านเทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสาร ในด้านเครื่องมือและเทคโนโลยี พบว่า ส่วนใหญ่มีการดำเนินการอยู่ในระดับปานกลาง
ได้แก่ สถานศึกษามีการวางแผนงบประมาณในการจัดซื้อ จัดหาคอมพิวเตอร์เพิ่มเติม มีการปรับปรุงเทคโนโลยี
ให้เป็นปัจจุบันและทันสมัย สถานศึกษาขาดอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น เครื่องสำรองไฟ พรินเตอร์ ฯลฯ ส่วนสภาพที่
อยู่ในระดับน้อยได้แก่ สถานศึกษามีคอมพิวเตอร์และใช้คอมพิวเตอร์เชื่อมโยงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพียงพอ
ต่อความต้องการใช้งานของบุคลากรและนักเรียนบุคลากรขาดทักษะในการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป โปรแกรมพัฒนาสื่อ
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) โปรแกรม E –Learning โปรแกรม E-Libraryและโปรแกรม Term 2544
ส่วนด้านการเรียนการสอน มีสภาพการดำเนินการอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ การเรียน การสอนคอมพิวเตอร์
ที่เน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง ใช้เทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์) จัดทำเอกสารประกอบการเรียนการสอนกลุ่มสาระต่างๆ
 มีการบูรณาการสื่อเทคโนโลยี และกิจกรรมการเรียนการสอน แต่ละสาระใช้เทคโนโลยีในการจัดทำสถิติ
ทางการศึกษาของนักเรียน รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำแผนการเรียนรู้และการวิจัยในชั้นเรียนและสภาพที่มีการดำเนินการ
อยู่ในระดับน้อย ได้แก่ นักเรียนสามารถใช้เทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์) เป็นเครื่องมือในการประมวลผลและสร้าง
องค์ความรู้ใหม่ได้ด้วยตนเอง บุคลากรใช้สื่อดิจิทัล เช่น E-Book E-Library E-Learning ในการจัดการเรียน
การสอน ตามลำดับ ส่วนสภาพและแนวทางการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนักเรียน
ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 1 จังหวัดเชียงราย พบว่า มีการดำเนินการอยู่ในระดับมาก
ได้แก่ นักเรียนมีความสนใจและกระตือรือร้นที่จะเรียนคอมพิวเตอร์และมีทักษะในการใช้โปรแกรม Paint
(วาดภาพระบายสี) ส่วนสภาพที่มีการดำเนินการอยู่ในระดับน้อย ได้แก่ นักเรียนมีทักษะในการติดต่อสื่อสาร
โดยใช้ไปรษณีย์อิเลคทรอนิคส์ หรืออี-เมล์ และมีความรู้ในการซ่อมบำรุงเทคโนโลยี
Publisher
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย สำนักวิทยบริการฯ
Address: ปริญญาโท
Role: ประธานกรรมการ
Role: กรรมการ
Date
Created: 2548-11
Modified: 2557-08-06
Issued: 2549-08-15

Title 2
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6
Title Alternative
Information technology system in educational opportunity expansion schools under the Chiang Mai
Primary Edcucational Service Area Office 6.

Description
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ เขต 6 และเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษากับ บุคลากร
ทางการศึกษาเกี่ยวกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม
ศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 โดยศึกษาจากประชากรและกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 27 คน และบุคลากร
ทางการศึกษา จำนวน 196 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 3 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 สถานภาพ
ของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 โครงสร้างพื้นฐานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ เขต 6 และตอนที่ 3 ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ในโรงเรียนขยายโอกาส
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่เขต 6 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ
ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียนขยายโอกาส
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6โดยรวมมีการปฏิบัติมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านและ
รายข้อพบว่า มีการปฏิบัติมากเช่นกัน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเรียงตามลำดับ คือ ด้านบริหารงานงบประมาณ ด้านบริหาร
งานทั่วไป ด้านบริหารงานบุคคล และด้านบริหารงานวิชาการ เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารกับบุคลากร
ทางการศึกษาพบว่าโดยรวมไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐาน
ที่วางไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ส่วนใหญ่ไม่มีความแตกต่างกัน ยกเว้น ด้านบริหารงานทั่วไป ที่มีความแตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Publisher
มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. สำนักวิทยบริการ
Address: เชียงใหม่
Email: ratanachai@feu.ac.th
Role: คณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

Title 3
การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาการใช้ไอซีทีเพื่อการเรียนรู้
Title Alternative
The Informaton and Communication Technology Administration of the ICT Model School

Classification :.DDC: ว.น.371.33
Description
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนต้นแบบ
การพัฒนาการใช้ไอซีทีเพื่อการเรียนรู้ 4 ด้าน คือการวางแผน การจัดองค์การ การนำและการควบคุม และเพื่อเปรียบเทียบ
ระดับการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาการใช้ไอซีทีเพื่อการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและครูในโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาการใช้ไอซีทีเพื่อการเรียนรู้ ปีการศึกษา 2549 ที่มหาวิทยาลัย เกษตร ศาสตร์เป็นพี่เลี้ยง 4 โรงเรียน คือ โรงเรียนวัดโสมนัส โรงเรียนอนุราชประสิทธิ์ โรงเรียนประถมฐานบินกำแพงแสน และโรงเรียนไผทอุดมศึกษา จำนวน 181 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นตามสัมประสิทธ์แอลฟาของครอนบาค 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า ระดับการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาการใช้ไอซีทีเพื่อการเรียนรู้ โดยภาพรวมทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับดีและเมื่อพิจารณารายด้าน อยู่ในระดับดีทั้ง 4 ด้าน คือ การวางแผน การนำ การจัดองค์การและการควบคุมตามลำดับ และการเปรียบเทียบระดับการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาการใช้ไอซีทีเพื่อการเรียนรู้ แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 การที่ทั้งผู้บริหารและครูเห็นพ้องกันในภาพรวมของการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เนื่องจากการบริหารจัดการยุคใหม่เน้นการบริหารแบบมีส่วนร่วม แต่อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้บริหารและครูจะมีมุมมองที่แตกต่างกันโดยที่ผู้บริหารมีแนวโน้มเห็นด้วยกับการบริหารมากกว่าครู
Publisher
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: u.t.-k-a-i@hotmail.com
Date
Created: 2549-10-03
Modified: 2007-07-09
Type
วิทยานิพนธ์/Thesis
Format
application/pdf
ISBN: 974-7790-74-2
Language
tha
Rights
©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อาหารและสารอาหาร

อาหารและสารอาหาร โปรตีน ( protein)   เป็นส่วนประกอบสำคัญของอวัยวะและเซลล์ทุกเซลล์ ช่วยสร้างเสริมการเจริญเติบโตและซ่อมแซมเซลล์ และเป็นส...