วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษา 3 เรื่อง

title 1
สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาเชียงราย เขต 1 จังหวัดเชียงราย

Description
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและแนวทางการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและ
การสื่อสารในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 1 จังหวัดเชียงราย
ในด้านการบริหารจัดการด้านเครื่องมือเครื่องใช้เทคโนโลยี ด้านการจัดการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่าง
โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายได้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 448 คน นักเรียน จำนวน 381 คน
รวมทั้งสิ้น 829 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวม เป็นแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น 0.956 การวิเคราะห์ข้อมูล
โดยการใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D.) ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
การบริหารจัดการพบว่า มีการดำเนินการอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ผู้บริหารส่งเสริมบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถ
เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้บริหารแต่งตั้งคัดเลือกบุคลากรที่สามารถปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยี
และการสื่อสารในสถานศึกษาสถานศึกษากำหนดวิสัยทัศน์เพื่อ ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
และการสื่อสาร สถานศึกษามีฐานข้อมูลครุภัณฑ์สิ่งก่อสร้าง B-Obec M-Obec ที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน
ส่วนสภาพที่มีการดำเนินการอยู่ในระดับน้อย ได้แก่ สถานศึกษามีบุคลากรที่มีวุฒิการศึกษา สาขาด้านเทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสาร ในด้านเครื่องมือและเทคโนโลยี พบว่า ส่วนใหญ่มีการดำเนินการอยู่ในระดับปานกลาง
ได้แก่ สถานศึกษามีการวางแผนงบประมาณในการจัดซื้อ จัดหาคอมพิวเตอร์เพิ่มเติม มีการปรับปรุงเทคโนโลยี
ให้เป็นปัจจุบันและทันสมัย สถานศึกษาขาดอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น เครื่องสำรองไฟ พรินเตอร์ ฯลฯ ส่วนสภาพที่
อยู่ในระดับน้อยได้แก่ สถานศึกษามีคอมพิวเตอร์และใช้คอมพิวเตอร์เชื่อมโยงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพียงพอ
ต่อความต้องการใช้งานของบุคลากรและนักเรียนบุคลากรขาดทักษะในการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป โปรแกรมพัฒนาสื่อ
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) โปรแกรม E –Learning โปรแกรม E-Libraryและโปรแกรม Term 2544
ส่วนด้านการเรียนการสอน มีสภาพการดำเนินการอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ การเรียน การสอนคอมพิวเตอร์
ที่เน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง ใช้เทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์) จัดทำเอกสารประกอบการเรียนการสอนกลุ่มสาระต่างๆ
 มีการบูรณาการสื่อเทคโนโลยี และกิจกรรมการเรียนการสอน แต่ละสาระใช้เทคโนโลยีในการจัดทำสถิติ
ทางการศึกษาของนักเรียน รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำแผนการเรียนรู้และการวิจัยในชั้นเรียนและสภาพที่มีการดำเนินการ
อยู่ในระดับน้อย ได้แก่ นักเรียนสามารถใช้เทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์) เป็นเครื่องมือในการประมวลผลและสร้าง
องค์ความรู้ใหม่ได้ด้วยตนเอง บุคลากรใช้สื่อดิจิทัล เช่น E-Book E-Library E-Learning ในการจัดการเรียน
การสอน ตามลำดับ ส่วนสภาพและแนวทางการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนักเรียน
ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 1 จังหวัดเชียงราย พบว่า มีการดำเนินการอยู่ในระดับมาก
ได้แก่ นักเรียนมีความสนใจและกระตือรือร้นที่จะเรียนคอมพิวเตอร์และมีทักษะในการใช้โปรแกรม Paint
(วาดภาพระบายสี) ส่วนสภาพที่มีการดำเนินการอยู่ในระดับน้อย ได้แก่ นักเรียนมีทักษะในการติดต่อสื่อสาร
โดยใช้ไปรษณีย์อิเลคทรอนิคส์ หรืออี-เมล์ และมีความรู้ในการซ่อมบำรุงเทคโนโลยี
Publisher
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย สำนักวิทยบริการฯ
Address: ปริญญาโท
Role: ประธานกรรมการ
Role: กรรมการ
Date
Created: 2548-11
Modified: 2557-08-06
Issued: 2549-08-15

Title 2
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6
Title Alternative
Information technology system in educational opportunity expansion schools under the Chiang Mai
Primary Edcucational Service Area Office 6.

Description
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ เขต 6 และเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษากับ บุคลากร
ทางการศึกษาเกี่ยวกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม
ศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 โดยศึกษาจากประชากรและกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 27 คน และบุคลากร
ทางการศึกษา จำนวน 196 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 3 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 สถานภาพ
ของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 โครงสร้างพื้นฐานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ เขต 6 และตอนที่ 3 ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ในโรงเรียนขยายโอกาส
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่เขต 6 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ
ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียนขยายโอกาส
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6โดยรวมมีการปฏิบัติมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านและ
รายข้อพบว่า มีการปฏิบัติมากเช่นกัน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเรียงตามลำดับ คือ ด้านบริหารงานงบประมาณ ด้านบริหาร
งานทั่วไป ด้านบริหารงานบุคคล และด้านบริหารงานวิชาการ เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารกับบุคลากร
ทางการศึกษาพบว่าโดยรวมไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐาน
ที่วางไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ส่วนใหญ่ไม่มีความแตกต่างกัน ยกเว้น ด้านบริหารงานทั่วไป ที่มีความแตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Publisher
มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. สำนักวิทยบริการ
Address: เชียงใหม่
Email: ratanachai@feu.ac.th
Role: คณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

Title 3
การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาการใช้ไอซีทีเพื่อการเรียนรู้
Title Alternative
The Informaton and Communication Technology Administration of the ICT Model School

Classification :.DDC: ว.น.371.33
Description
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนต้นแบบ
การพัฒนาการใช้ไอซีทีเพื่อการเรียนรู้ 4 ด้าน คือการวางแผน การจัดองค์การ การนำและการควบคุม และเพื่อเปรียบเทียบ
ระดับการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาการใช้ไอซีทีเพื่อการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและครูในโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาการใช้ไอซีทีเพื่อการเรียนรู้ ปีการศึกษา 2549 ที่มหาวิทยาลัย เกษตร ศาสตร์เป็นพี่เลี้ยง 4 โรงเรียน คือ โรงเรียนวัดโสมนัส โรงเรียนอนุราชประสิทธิ์ โรงเรียนประถมฐานบินกำแพงแสน และโรงเรียนไผทอุดมศึกษา จำนวน 181 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นตามสัมประสิทธ์แอลฟาของครอนบาค 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า ระดับการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาการใช้ไอซีทีเพื่อการเรียนรู้ โดยภาพรวมทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับดีและเมื่อพิจารณารายด้าน อยู่ในระดับดีทั้ง 4 ด้าน คือ การวางแผน การนำ การจัดองค์การและการควบคุมตามลำดับ และการเปรียบเทียบระดับการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาการใช้ไอซีทีเพื่อการเรียนรู้ แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 การที่ทั้งผู้บริหารและครูเห็นพ้องกันในภาพรวมของการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เนื่องจากการบริหารจัดการยุคใหม่เน้นการบริหารแบบมีส่วนร่วม แต่อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้บริหารและครูจะมีมุมมองที่แตกต่างกันโดยที่ผู้บริหารมีแนวโน้มเห็นด้วยกับการบริหารมากกว่าครู
Publisher
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: u.t.-k-a-i@hotmail.com
Date
Created: 2549-10-03
Modified: 2007-07-09
Type
วิทยานิพนธ์/Thesis
Format
application/pdf
ISBN: 974-7790-74-2
Language
tha
Rights
©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในสถานศึกษา



หัวข้อวิทยานิพนธ์    การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในสถานศึกษา ขัั้นพื้นฐานเพื่อเพิ่ม
                                ประสิทธิภาพการบริหารจัดการ กรณีศึกษา : โรงเรียนเตรียมบัณฑิต
                                (บริบูรณ์ศิลป์ ศึกษา)
                                Application of information Technology for Improving Efficiency Management
                                in Basic Education Institute Case Study : Triumbundhit School

ชื่อผู้เขียน                นางสาวจามิกร เปียทอง
                                Jamikorn Piatong
แผนกวิชา/คณะ       สาขาการบริหารเทคโนโลยี
                                วิทยาลัยนวัตกรรมอุดมศึกษา  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์              ดร.สมิทธ์ ตุงคะสมิต, อาจารย์กำพล ศรธนะรัตน์
ปีการศึกษา              2550
บทคัดย่อ 
               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานภาพ ปัญหา และอุปสรรคต่างๆ ในการ นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเอกชน กรณีศึกษา โรงเรียน เตรียมบัณฑิต(บริบูรณ์ศิลป์ ศึกษา) โดยพิจารณาในส่วนการนำไปประยุกต์ใช้ด้านการบริหาร จัดการของฝ่ายงานต่างๆ ในโรงเรียน ได้แก่ ฝ่ายธุรการ ฝ่ายทะเบียน ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายปกครอง และฝ่ายบริหาร โดยการวิจัยจะใช้การสัมภาษณ์ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่และบุคลากรผู้ที่มีส่วน เกี่ยวข้องต่างๆ เพื่อให้ทราบถึงสถานภาพ สภาพปัญหาและความต้องการของผู้บริหารในการ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงศึกษาจากบันทึกข้อมูลเอกสารต่างๆ และเสนอแนวทาง วิธีการปฏิบัติ การแก้ไขปัญหาโดยจัดท าเป็นแผนหลักด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของโรงเรียน เพื่อ เป็นแนวทางในการด าเนินงาน น าไปสู่การบรรลุเป้ าหมายที่กำหนด จากการศึกษา โรงเรียนเตรียมบัณฑิต(บริบูรณ์ศิลป์ ศึกษา) มีการน าเทคโนโลยี สารสนเทศมาประยุกต์ใช้อย่างต่อเนื่อง โดยผู้บริหารให้การสนับสนุนในการใช้งานรวมถึงนโยบาย ของภาครัฐที่ให้การส่งเสริมอย่างจริงจัง แต่เนื่องจากสภาพปัญหาและข้อจ ากัดต่างๆ ท าให้การน า เทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ใช้ด้านการบริหารจัดการยังไม่เกิดประสิทธิภาพเท่าที่ควร ระบบงานของฝ่ายงานต่างๆ มีขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อน ล่าช้า ข้อมูลมีการสูญหายและเกิดความผิดพลาดบ่อยครั้งซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่องค์กรและส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพ การดำเนินการของโรงเรียน การจัดทำแผนหลักด้านเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กรและหน่วยงานสถาบันต่างๆ เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่จะใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการพัฒนาปรับปรุงการด าเนินงานให้ บรรลุเป้าหมายตามที่ได้ก าหนดไว้ โดยมีลักษณะเป็นการดำเนินการบริหารโครงการ (Project Management) ในการที่จะจัดการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีอยู่อย่างเหมาะสม เพื่อให้การดำเนิน โครงการบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั ้งไว้ โดยมีแผนงานแนวทางที่ชัดเจนและเป็ นรูปธรรม ซึ่งจะทำให้เกิด การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ และการดำเนินการของโรงเรียนนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายที่กำหนด

จามิกร เปียทอง. (2550) การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ :กรณีศึกษา :โรงเรียนเตรียมบัณฑิต (บริบูรณ์ศิลป์ศึกษา) . มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์/กรุงเทพฯ.

วันเสาร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ระบบสารสนเทศโรงเรียนบ้านขุนประเทศ

ระบบสารสนเทศโรงเรียนบ้านขุนประเทศ

คู่มือการใช้งานระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษา (Education Management Information System :EMIS) สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา 


                                       โปรแกรมระบบฐานข้อมูล EMIS ครูและบุคลากรทางการศึกษา
การกรอกข้อมูลครูและบุคลากรทางการศึกษา ในระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษา (Education Management Information System :EMIS) มีขั้นตอนดังนี้
1.  เข้าสู่หน้าเว็บไซต์สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
      www.bangkok.go.th/bangkokeducation



2. เข้าสู่โปรแกรม EMIS

3. เข้าสู่ระบบ EMIS >>กรอกชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน >> กดตกลง


4. เลือก Menu 


5. เลือก บันทึกข้อมูลบุคลากร (กพ.7) 


6. เลือก ทะเบียนข้าราชการครู



 7. กรอกข้อมูลในพื้นฐาน
เช่น เลขบัตรประจำตัวประชาชน เลขประจำตัวข้าราชการ กทม.  เลขประจำตำแหน่ง คำนำหน้าชื่อ ชื่อ นามสกุล เพศ วันเดือนปีเกิด




8. กรอกข้อมูลในพื้นฐาน 2
เช่น ที่อยู่ปัจจุบัน ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน



9. กรอกข้อมูลในพื้นฐาน 3
เช่น วิทยฐานะ เงินวิทยฐานะ ตำแหน่ง ขั้นอันดับเงินเดือน อัตราเงินเดือน สังกัด/กลุ่มงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ วุฒิทางลูกเสือ/ยุวกาชาด วุฒิทางศาสนา



10. กรอกข้อมูลในพื้นฐาน 4
เช่น ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ประเภทใบอนุญาต เลขที่ใบอนุญาต วันที่ใบอนุญาตหมดอายุ



11. กรอกข้อมูลบ้านพัก  ได้แก่ รหัสห้อง  ชื่อห้อง รหัสอาคาร รหัสโรงเรียน ชื่อโรงเรียน



 12. กรอกข้อมูลประวัติการศึกษา
ได้แก่  เลขลำดับ ชื่อสาขาวิชาเอก ชื่อสาขาวิชาโท วันที่สำเร็จการศึกษา เกรดเฉลี่ยสะสม ชื่อวุฒิการศึกษา ชื่อสถาบันการศึกษา




13. กรอกข้อมูลการศึกษาดูงาน ได้แก่  ลำดับการศึกษาดูงาน รายละเอียดการศึกษาดูงาน สถานที่ ประเทศ ปีที่ศึกษาดูงาน




 14. กรอกข้อมูลความสามารถพิเศษ


15. กรอกข้อมูลการเข้ารับการอบรม หลักสูตรที่เข้ารับการฝึกอบรม ปีที่ได้รับการฝึกอบรม


16. กรอกข้อมูลวิชาที่สอน
ได้แก่ ปีการศึกษา ภาคเรียน ระดับชั้น รหัสวิชา ชื่อวิชา



17. กรอกข้อมูลวันลา
เช่น วันที่เริ่มการลา วันที่สิ้นสุดการลา ประเภทการลา สาเหตุการลา


18. กรอกข้อมูลความสามารถเฉพาะตำแหน่ง


19. กรอกข้อมูลผลงาน ได้แก่ ชื่อผลงาน ปีที่สร้างผลงาน



20. กรอกข้อมูลการพัฒนางาน
เช่น รายละเอียดการพัฒนางาน ปีที่พัฒนางาน



21. กรอกข้อมูลรางวัล
ได้แก่ ชื่อรางวัล/เกียรติประวัติ  ปีที่ได้รับ



22. กรอกข้อมูลการปฏิบัติงาน ได้แก่  ปีการศึกษา เลขลำดับ ตำแหน่ง วิทยฐานะ ชื่อการปฏิบัติงาน ผลการปฏิบัติ ผลการประเมิน


23. กรอกข้อมูลประวัติการทำงาน ได้แก่ ชื่อสถานที่ทำงาน ตำแหน่ง ชื่อโรงเรียน วันที่เริ่มทำงาน วันที่สิ้นสุดการทำงาน สาเหตุการลาออก



การค้นหาข้อมูล 

 1. หากต้องการค้นหาข้อมูล ให้เลือก>>ค้นหา >> ใส่ชื่อที่ต้องการ


2. กรอกชื่อที่ต้องการค้นหา

การแก้ไขข้อมูล
1. หากต้องการแก้ไขข้อมูล ให้เลือกหัวข้อที่ต้องการแก้ไข เมื่อ แก้ไขเรียบร้อยแล้วให้กด >> บันทึก
     หากต้องการลบข้อมูล ให้เลือก >> ลบ



 2. หากต้องการเพิ่มเติมข้อมูลให้กด >> เพิ่ม แล้วกรอกข้อมูล





การบันทึกข้อมูล
 บันทึกข้อมูล
       

การออกจากระบบ
เมื่อต้องการออกจากระบบ ให้เลือก >> ออกจากระบบ
 หรือ เมื่อต้องการออกจากโปรแกรม ให้เลือก >> ออกจากโปรแกรม

ประโยชน์ของข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา
2.1 เป็นเครื่องมือสำคัญในการตัดสินใจ การแก้ปัญหา อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างมีหลักการและ 
                  เหตุผลของผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษาทุกระดับ
2.2 เป็นเครื่องมือในการวางแผน การบริหารจัดการการศึกษา การจัดตั้งจัดสรรงบประมาณและ 
       การติดตามประเมินผล
2.3 เป็นเครื่องมือในการกำกับ ควบคุมการปฎิบัติงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตรงตาม
      แผนหรือเป้าหมาย
2.4 เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินการจัดการศึกษาของหน่วยงาน
2.5 เป็นเครื่องมือในการสร้างองค์ความรู้ สร้างความเข้าใจ และความสัมพันธ์อันดีระหว่างองค์กร
                  และบุคลากรในองค์กรและสาธารณชน
2.6 เป็นเครื่องมือสำหรับบุคคลทั่วไป เช่น นักวิจัย นักวิชาการ หรือนักศึกษาใช้ประโยชน์
     เกี่ยวกับการทำงานทางวิชาการ ช่วยในการตัดสินใจที่มีเหตุผล หรือเพื่อแสวงหาความรู้
     ทฤษฎีใหม่ๆ เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาการศึกษา



ผลงานของ นางสาวอรฤทัย พวงกุหลาบ M.Ed.4 เลขที่1

นางสาวอรฤทัย  พวงกุหลาบ   เลขที่ 1
นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาบริหารการศึกษา 
รุ่นที่ 4    บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธนบุรี
-----วันที่ 12 พฤษภาคม 2561------




อาหารและสารอาหาร

อาหารและสารอาหาร โปรตีน ( protein)   เป็นส่วนประกอบสำคัญของอวัยวะและเซลล์ทุกเซลล์ ช่วยสร้างเสริมการเจริญเติบโตและซ่อมแซมเซลล์ และเป็นส...